วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การทำ STOP MOTION





ขอบคุณวีดีโอสอนทำ stop motion จาก youtube ชื่อผู็ใช้ Malatri Phromto


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=R64UT1KIt_Q

สต็อปโมชัน (stop motion)

การถ่ายสต็อปโมชัน (stop motion)

             เป็นแอนิเมชันที่ผู้ทำแอนิเมชันต้องสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิด ๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรม ๆ

เทคนิค

การถ่ายสต็อปโมชันมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
  • เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชัน / claymation)

คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
  • คัตเอาต์แอนิเมชัน (Cutout animation)

สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ มิติ (เช่น กระดาษผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
  • กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)

เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
  • โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)

คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและฉากหลังเหมือนจริง
  • แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)

ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
  • พิกซิลเลชัน (Pixilation)

เป็นสต็อปโมชันที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ



ขอบคุณวีดีโอตัวอย่าง stop motion จาก youtube ชื่อผู็ใช้ Mr.Bobykiwi 


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/



วิธีแก้ปัญหาติดสื่อเทคโนโลยี


" การเป็นพ่อแม่ของลูกวัยรุ่นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เนื่องจากสังคมสมัยนี้แวดล้อมไปด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ชักชวนให้ลูกหลงไปในทางที่ผิด สิ่งหนึ่งที่ลูกวัยรุ่นต้องการ คือการเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนว่าตนเองเป็นคนทันสมัยและไม่เชย ซึ่งการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยดูเหมือนจะเป็นแฟชั่นที่นิยม และหากไม่มีใช้อาจดูเหมือนเชยและไม่ได้รับการยอมรับ "
 ให้เรามาดูว่าวิธีช่วยเด็กๆ ให้ลดการจ้องจอภาพเป็นเวลานานๆ สามารถทำได้อย่างไร
1. คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ถึงแม้ว่าดูเหมือนลูกวัยรุ่นจะไม่สนใจในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังคงเป็นต้นแบบที่สำคัญที่สุดในชีวิตลูก ดังนั้น เราไม่สามารถบอกให้ลูกหยุดเสพเทคโนโลยีต่างๆ ได้หากตัวเราเองยังคงดูทีวีจนดึกดื่น ส่งข้อความในขณะขับรถหรือมีมือถือไว้ข้างตัวขณะทานอาหาร จิตแพทย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า หากเราลดปริมาณการดูหนังลง เด็กๆจะมีพฤติกรรมการติดหนังลดลงด้วย ดังนั้น กฎข้อบังคับต่างๆที่ตั้งขึ้นมากมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสารนั้น ตัวเราเองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย
2. เตือนลูกถึงเวลาที่กำหนด การงดไม่ให้ลูกเลิกเล่นเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่สำคัญคือเตือนให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่ บางครั้งอาจต้องเตือนลูกอย่างใจเย็นๆ ว่า แม่คิดว่าลูกใช้เครื่องมือสื่อสารมากเกินไปแล้วดังนั้น ถึงเวลาควรหยุดและทำอย่างอื่นบ้างได้แล้ว
3. สร้างแรงจูงใจให้ลูกออกกำลังกาย เด็กวัยรุ่นหลายคนเลิกเล่นกีฬาช่วงวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างแรงจูงใจให้ลูกเลือกเล่นกีฬาที่ชอบ หากเราอยากให้ลูกเล่นบาสเกตบอล แต่ลูกอยากว่ายน้ำ เราควรให้ลูกเป็นฝ่ายเลือก และช่วยให้ลูกไปถึงเป้าหมายโดยการไปรับส่งและจัดตารางร่วมกันกับลูก หากลูกชอบการดูดีวีดี คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างแรงจูงใจให้ลูกโดยการจัดหาดีวีดี เกี่ยวกับการออกกำลังกายและฝึกทำด้วยกันทั้งบ้านเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจที่สนุกกับลูก
4. พยายามสนับสนุนการทำกิจกรรมที่ได้เข้าสังคม กิจกรรมหรือการเข้าร่วมในคลับช่วยให้ลูกได้มีโอกาสเข้าสังคม และรู้จักการปรับตัวเข้ากับคนอื่น ในกรณีที่ไม่สามารถชักจูงให้ลูกเข้าร่วมในคลับต่างๆ ได้ ให้ลูกเลือกทำกิจกรรมกับกลุ่มที่ลูกคุ้นเคยและสนใจก่อน เช่นร่วมกิจกรรมที่โรงเรียน ทำกิจกรรมกับเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรืออาสาสมัครทำงานที่ลูกชอบเป็นต้น      

5. มีข้อตกลงร่วมกันในการใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น เขียนสัญญา ข้อตกลงซึ่งเป็นกฎของบ้านร่วมกันกับลูกโดยการให้รางวัลหรือลงวินัยหากทำผิดกฎ เพื่อให้ลูกรู้สึกมีส่วนร่วม ตัวอย่างข้อตกลงมีดังนี้
       5.1 ห้ามส่งข้อความออนไลน์ในระหว่างทานอาหาร ไม่ว่าเป็นที่บ้านหรือร้านอาหาร
       5.2 ห้ามดูทีวีขณะรับประทานอาหาร
       5.3 ต้องทำการบ้านหรืองานบ้านให้เสร็จก่อนดูทีวี
       5.4 เมื่อถึงเวลานอนต้องปิดทีวี
       5.5 ใช้คอมพิวเตอร์ได้ในห้องนั่งเล่น
       5.6 ไม่ตั้งทีวีไว้ในห้องนอน      
6. เปิดอกคุยกับลูก หากการตั้งกฎต่างๆ ใช้ไม่ได้ผลกับลูก อาจถึงเวลาในการคุยกับลูกตรงๆ ถึงผลเสียของการเสพสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ให้ลูกค้นดูงานวิจัยมากมายถึงผลกระทบของการใช้สื่อมากเกินความจำเป็น เช่น เป็นโรคอ้วน จอภาพสายตาเสื่อม เป็นโรคหัวใจเป็นต้น เพื่อจะได้ตระหนักถึงอันตรายที่กำลังเกิดขึ้น   
  

                                                                                                                                                   


 ที่มา  : http://www.thaihealth.or.th

โทรศัพท์มือถือเป็นยาเสพติด

การเกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟนมากเกินไปไม่ใช่เรื่องที่ฉลาดนักศึกษาในวิทยาลัยโดยเฉลี่ยใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลากว่าเก้าชั่วโมงในแต่ละวัน
ซึ่งนั่นมีความยาวมากกว่าที่นักเรียนหลายๆคนทำการนอนหลับเสียอีก ในความจริงแล้ว การใช้งานโทรศัพท์มือถือที่มากเกินไปแสดงให้เห็นว่า เทคโนโลยีสามารถที่จะเป็นสิ่งเสพติดได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาใหม่ การเสพติดเป็นชนิดหนึ่งของอาการที่ควบคุมไม่ได้และไม่ดีต่อสุขภาพ
มันเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า มนุษย์สามารถเริ่มที่จะเสพติดยา เช่นแอลกอฮอล์ นาโคติค และนิโคตินในบุหรี่ได้ มนุษย์ก็ยังสามารถที่จะเสพติดการกระทำได้อีกด้วย” 
James Roberts กล่าว เขาเป็นศาสตราจารย์ทางด้านการตลาดที่ Baylor University ใน Waco รัฐเทกซัส Roberts ยังเป็นผู้นำการศึกษาใหม่ในครั้งนี้อีกด้วย มันถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ Journal of Behavioral Addictions ในเดือนสิงหาคม ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือบางคนแสดงให้เห็นถึงอาการที่คล้ายกันกับการเสพติดยา Roberts อธิบาย คนกลุ่มหนึ่งใช้สมาร์ทโฟนเพื่อยกระดับทางด้านอารมณ์ และมันอาจจะใช้เวลามากขึ้นไปอีกกับโทรศัพท์เพื่อที่จะสร้างระดับความสุขของพวกเขา
สำหรับกลุ่มคนที่ทำโทรศัพท์หาย หรือแบตเตอรี่หมดสามารถก่อให้เกิดความกังวลและความตื่นตระหนกตกใจได้นั้น นั่นคืออาการขาดยารูปแบบหนึ่ง” Roberts กล่าว
การใช้งานโทรศัพท์ที่มากเกินไปสามารถที่จะรบกวนกิจกรรมปกติหรือก่อให้เกิดความขัดแย้งกับครอบครัวหรือบุคคลอื่นได้เขากล่าวเสริม แต่แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายทางสังคมเหล่านี้อยู่ คนส่วนมากไม่อาจจะตัดการใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานได้ จริงๆแล้ว คนเราอาจจะไม่สามารถหยุดใช้พวกมันได้เลยเขากล่าว
การศึกษาใหม่ได้ขอให้นักศึกษาวิทยาลัยบอกเกี่ยวกับเวลาที่ใข้ในการทำกิจกรรมต่างๆกับโทรศัพท์มือถือของพวกเขา และยังถามถึงเกี่ยวกับความเห็นว่าพวกเขาเห็นด้วยมากน้อยแค่ไหนกับข้อความแนะนำที่เกี่ยวกับอาการเสพติดที่เป็นไปได้ของโทรศัพท์มือถือ ฉันใช้เวลามากกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือนี่คือข้อความที่หนึ่ง ฉันรู้สึกปั่นป่วนเมื่อโทรศัพท์มือถือของฉันไม่อยู่ในสายตานี่คือข้อความอีกอันหนึ่ง ยิ่งมีคนโทรเข้ามากเท่าไหร่ ยิ่งมีแนวโน้มที่พวกเขาจะแสดงอาการเสพติด
ข้อมูลที่ได้ยังมีความแตกต่างกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายอีกด้วย
ในกลุ่มของผู้ชาย  สัญญาณที่เป็นได้ของอาการเสพติดจะเป็นความสัมพันธ์เชิงบวก หรือมีความสัมพันธ์กัน กับเวลาที่พวกเขาใช้ไปกับ Bible แอพพลิเคชั่นและแอพพลิเคชั่นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอ่านหนังสือ เมื่อมีการใช้งานแอพพลิเคชั่นอื่นๆเพิ่มขึ้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเสพติด การใช้แอพพลิเคชั่นทางสังคมของผู้ชายนั้น เช่น facebook twitter และ instagram จะมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของอาการเสพติด
ผู้หญิง  มีแนวโน้มที่จะแสดงสัญญาณเสพติดถ้าพวกเขาใช้ Pinterest Instagram Amazon และแอพพลิเคชั่นที่ปล่อยให้พวกใช้มือถือของพวกเขาเองได้คล้ายกับไอพอด แอพพลิเคชั่น Bible Twitter Pandora และ Spotify แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบย้อนกลับ นั่นคือ การใช้งานแอพพลิเคชั่นเหล่านั้นเป็นจำนวนมากจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่น้อยลงของการเสพติดโทรศัพท์มือถือ
ความสัมพันธ์นั้นไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ก่อเกิดสิ่งอื่น แต่ความสัมพันธ์เหล่านั้นสามารถที่จะนำมาซึ่งเบาะแสที่มีประโยชน์ Roberts กล่าวว่า ผลของการศึกษาชี้ให้เห็นถึงชนิดของรางวัล โดยในแต่ละเพศอาจจะค้นหาจากการใช้โทรศัพท์มือถือ ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีการใช้ของผู้ชาย จะมีมากในส่วนของความบันเทิงและการให้ข้อมูล
การใช้งานของผู้หญิงจะมีมากในส่วนของการรักษาและการบำรุงความสัมพันธ์ทางสังคมเขากล่าว ชนิดของกิจกรรมเหล่านี้บ่อยครั้งต้องใช้เวลาที่มาก และโดยเฉลี่ย ผู้หญิงจะใช้มือถือต่อวันนานกว่าผู้ชายใช้
แต่เป็นเรื่องปกติ เพราะว่าคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมากไม่ได้หมายความว่าพวกเขามีอาการเสพติด
Tracii Ryan เป็นนักจิตวิทยาที่ RMIT University ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เธอยังเป็นผู้นำทางด้านการรายงานเกี่ยวกับการเสพติด facebook ซึ่งตีพิมพ์อยู่ในวารสารทางวิชาการ Journal of Behavioral Addictions “อาการขาดยาและการใช้ที่มากเกินไปเป็นสองอาการเสพติดที่ชัดเจนเธอชี้ให้เห็น แต่เธอกล่าวเสริมว่า ไม่ได้มีแค่สองอาการเท่านั้นที่จัดเป็นอาการในด้านการวินิจฉัย
Roberts แสดงความเห็นด้วย อย่างไรก็ตาม เขาชี้ให้เห็นว่า ไม่ได้มีการวัดที่ดีสำหรับการวัดปัจจัยทั้งหมดของการเสพติดโทรศัพท์มือถือ
Ryan ทำในจุดที่คล้ายๆกันเกี่ยวกับการศึกษาการเสพติด Facebook “นักวิจัยไม่ได้วัดอาการเสยพ์ติด facebook โดยใช้อาการเสพติดทั้งหมดที่ยอมรับได้เธอพูด การวิจัยที่มีความแน่นอนกว่านี้ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่
แต่รายงานของ Ryan ได้เสนอเหตุผลหลักว่าทำไมคนเราถึงใช้ facebook บางคนต้องการติดต่อกับเพื่อน บางคนต้องการเวลาที่ผ่านไปแล้ว บางคนต้องการความบันเทิง บางคนต้องการหาเพื่อนฝูง
หนึ่งในแรงจูงใจเหล่านี้อาจจะก่อให้เกิดการยกระดับทางด้านอารมณ์ ซึ่งนำไปสู่การเสพติด facebook” Ryan กล่าว บางคนอาจจะเปลี่ยน facebook เป็นที่ผ่อนคลายความเหงา แต่บางคนอาจจะใช้เป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดปัญหาก็ได้เช่นกัน
จุดสำคัญที่ได้จากสองการศึกษาคือ การใช้เทคโนโลยีสามารถก่อให้เกิดการเสพติดได้ในกลุ่มคนบางคน” Ryan กล่าว

นักวิจัยกล่าวว่า ให้จำไว้ว่า เทคโนโลยีช่วยพวกเราได้เมื่อมันเป็นแค่เครื่องมือ แต่ไม่ใช่เมื่อมันเป็นสิ่งเสพติดที่มีผลต่อสุขภาพ


ที่มา : http://www.vcharkarn.com/vnews/500130

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การติดโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและวัยรุ่น

             


             ในยุคปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน (smartphone) เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น รวมไปถึงการเปิดตัวสมาร์ทโฟนหลากหลายยี่ห้อ ทำให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากรายงานในปี ค.ศ. 2012 พบว่าวัยรุ่นอเมริกัน ร้อยละ 37 ครอบครองโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ.2011 กว่าร้อยละ 23 และมีถึงร้อยละ 95 ใช้บริการอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือของตน เช่นเดียวกันกับประเทศเกาหลี การใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ในเด็กและวัยรุ่น เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 7.5 ในปี ค.ศ.2009 เป็นร้อยละ 67 ในปี ค.ศ.2012

            Dr. Lee และคณะ ผู้ทำการศึกษาผลของการติดโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนในเด็กวัยรุ่นเกาหลี กล่าวว่า โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนมีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย ทำให้เกิดความสะดวกและเพลิดเพลินแก่ผู้ใช้ ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ที่มากเกินไปได้ ในการศึกษาที่ได้ทำในเด็กวัยรุ่น 195 คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โดยให้วัยรุ่นกลุ่มนี้ทำแบบทดสอบพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน 2010 Smart-phone Addiction Rating Scale (SARS) และ The Young Internet Addiction Scale (YIAS) และแบบทดสอบ Youth Self Report (K-YSR) เพื่อประเมินอาการทางจิตและปัญหาด้านพฤติกรรม จากผลการทดสอบพบว่าในวัยรุ่นแต่ละราย มีคะแนนจากแบบทดสอบทั้งสามไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นได้ทำการแบ่งกลุ่มวัยรุ่นออกเป็นสี่กลุ่มตามพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ดังนี้ 1) low Internet/low smartphone (low-low) users 2) high Internet/high smartphone (high-high) users 3) low Internet/high smartphone (low-high) users และ 4) high Internet/low smartphone (high-low) users

              ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนต่ำ มีคะแนนจากแบบทดสอบทั้งสามต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางตรงกันข้ามกลุ่มที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสูง มีคะแนนจากแบบทดสอบสูงกว่ากลุ่มอื่น จากแบบทดสอบยังพบว่าในกลุ่มนี้มีอาการผิดปกติ เช่น อาการลงแดงหากไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ต/โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน มีปัญหาทางการคิด มีอาการซึมเศร้าหรือกระวนกระวาย สมาธิสั้น และมีอารมณ์ฉุนเฉียวมากกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งมีโอกาสส่งผลต่อการเข้าสังคมและพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กได้
ที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1132

การเล่นอินเตอร์เน็ตเป็นเวลานาน


ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ไทยประสบกับปัญหาและความกังวลที่ว่าเราจะด้อยพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าประเทศอื่นๆเพราะอย่างที่รู้กันว่าเอเชียไม่ใช่ต้นกำเนิดของเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่ไม่กี่ปีให้หลังกลับกลายเป็นว่า ไทยต้องประสบกับปัญหาการใช้เทคโนโลยีที่ว่าอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสื่อลามก การแสดงภาพหรือข้อมูลที่ไม่เหมาะสมทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการเล่นเกมส์ออนไลน์ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในเด็กและเยาวชนจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
หลังจากพยายามแก้ไขปัญหานี้มาหลายปี ด้วยหลายวิธีและแนวทาง ในที่สุดเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2547 ที่ผ่านมา น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีขณะนั้นก็สามารถผลักดันจนเป็นรูปธรรมได้ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 4 มาตรการควบคุมเกมส์ออนไลน์และอินเทอร์เน็ต อันได้แก่
  1. การจำกัดชั่วโมงการเล่นเกมส์ของเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ให้ไม่เกินวันละ 3 ชั่วโมง
  2. ห้ามการเล่นพนัน ชิงโชค หรือซื้อขายอุปกรณ์
  3. ออกระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนร้านอินเทอร์เน็ต เพื่อกำกับดูแลการให้บริการ
  4. รณรงค์ให้เยาวชน รวมทั้งผู้ปกครองทราบถึงโทษของการเล่นเกมส์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ออกมายังคงเป็นที่สนใจและกล่าวถึงของคนในสังคม เพราะทราบกันดีว่า ขณะนี้บริการร้านอินเทอร์เน็ตได้ขยายและกระจายตัวไปตามพื้นที่ต่างๆของเมืองโดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เล่นเกมส์เกินวันละ 3 ชั่วโมง

เด็กติดอินเทอร์เน็ต – เกมนำไปสู่ปัญหาสังคม

             ต้องยอมรับว่าระบบเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวล้ำกันจนปรับตัวตามกันไม่ทัน อุปกรณ์ต่างๆ ก็หาซื้อได้ง่ายขึ้นมาก จึงไม่แปลกที่ปัจจุบันทุกบ้านจะมีคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมคอมพิวเตอร์
หรือแม้แต่การขยายตัวของกิจการร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้มากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมีมากมาย เช่น ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก
การหาข้อมูลความรู้ข่าวสารต่างๆ แต่หากเราใช้ในทางที่ผิด เช่น ใช้เพื่อเข้าสังคมออนไลน์หรือเล่นเกมออนไลน์โดยไม่แบ่งเวลาให้เหมาะสม ก็จะทำให้กลายเป็นปัญหาติดอินเทอร์เน็ตและเกมซึ่งในปัจจุบันพบมากในเด็กและเยาวชน

ปัญหาเด็กติดอินเทอร์เน็ต-เกมส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ และสังคม เด็กติดเกมจะเล่นเกมอย่างเดียวโดยไม่สนใจทำอย่างอื่น ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดการพัฒนาการที่ดี ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แสดงอาการก้าวร้าวกับผู้ปกครองและพี่น้อง มักมีผลการเรียนตกต่ำ สูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเพราะขาดการเข้าสังคม ทานข้าวไม่เป็นเวลา นอนดึกหรือไม่นอนเลย โดยไม่นานมานี้ก็มีข่าวเด็กอายุ 14 ปีที่เสียชีวิตในร้านเกมย่านบางกะปิ เพราะระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเนื่องจากนั่งเล่นเกมเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงและทานข้าวไปด้วย
ที่มา : http://panhatugta.blogspot.com/2013/07/blog-post_6146.html

ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์


ข้อดีจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

  • ช่วยให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็ว
  • สะดวกต่อการทำงานทางธุรกิจต่างๆ
  • ทำให้เกิดความเพลิดเพลินจากการใช้โทรศัพท์ฟังเพลง หรือเล่นเกม
  • ทำให้ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการที่จะต้องเดินทางไปติดต่อธุระด้วยตนเอง 


ข้อเสียจากการใช้โทรศัพท์มือถือ


  • การใช้โทรศัพท์มือถืออาจทำให้มีอาการปวดหัวได้ เพราะหลักการรับ-ส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ คือ การแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้า ก่อนส่งออกไปในอากาศ โดยอาศัยคลื่นพา เช่น คลื่นไมโครเวฟ แล้วไปตามสถานีเครือข่าย ที่มีทั่วประเทศไทย ซึ่งปกติเรานำคลื่นไมโครเวฟมาใช้ในการอุ่นอาหาร เนื่องจากคลื่นถูกดูดซึมจากส่วนประกอบที่มีน้ำได้ดี และถ้ามีความเข้มสูงพอจะเกิดเป็นความร้อน ทำให้อาหารนั้นร้อนขึ้นหรือสุกได้ ถึงแม้คลื่นไมโครเวฟ ที่กระจายอยู่ในอากาศยังไม่มีความเข้มถึงขีดอันตรายที่จะเกิดความร้อนได้ แต่เสาอากาศของโทรศัพท์มือถือได้ดึงดูดคลื่นไมโครเวฟเข้าสู่เครื่องโทรศัพท์ ทำให้บริเวณที่อยู่ใกล้เสาอากาศ คือ ศีรษะจะได้รับคลื่นไมโครเวฟในปริมาณมากจนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะได้
  • การโทรไม่ติด หรือหลุดบ่อยทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด สุขภาพจิตเสื่อมลง กล้ามเนื้อคอ หัวไหล่มักจะเกร็งเนื่องจากต้องถือโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา และบางครั้งยังต้องพยายามเอียงคอ และใช้มือดันโทรศัพท์ให้แนบติดกับใบหูอยู่ตลอดเวลา การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อคอ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดศีรษะ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวตลอดเวลา หลอดเลือดจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การแก้ไขอาจต้องใช้โทรศัพท์ที่มีขนาดเบา อย่าคุยโทรศัพท์นานเกินควร และถ้าอยู่ในรถอาจผ่านขยายเครื่องขยายเสียง และใช้ไมโครโฟนในการสนทนา ซึ่งในกรณีนี้นอกจากจะไม่เป็นผลเสีย ต่อสุขภาพแล้ว ยังลดอุบัติเหตุบนท้องถนนลงได้
  • การรบกวนของคลื่นวิทยุ คลื่นจะรบกวนการทำงานของอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ Pacemaker, defibrillator และอาจจะมีผลต่อการควบคุมการบิน
  • การขับรถ การใช้โทรศัพท์มือถือทำให้มีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์เป็นประจำ อาจมีอาการหูตึง เนื่องจากเสียงโทรศัพท์ไม่ชัดเจน มีเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ใช้โทรศัพท์ในตำแหน่งที่รับส่งคลื่นได้สะดวก บุคลิกภาพของผู้ใช้โทรศัพท์ต้องเสียไป เนื่องจากต้องพะวักพะวงกับการหาตำแหน่งที่รับฟังได้ชัดเจน และยังต้องตะโกนพูดอยู่คนเดียว

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/410843